วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการพระราชดำริ



โครงการพระราชดำริ









“ ...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้... ”
จากพระราชดำรัสนี้ สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ท่านได้ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆจำนวนมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อตัวรวมกันจนเกิดเป็นฝนได้ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาว ทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม เนื่องจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความคลาดเคลื่อนและความผันแปรของฤดูกาลตามธรรมชาติ พระองค์ท่านก็ทรงคิดคำนึงว่าน่าจะมีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เมฆรวมตัวกันจนเกิดฝนได้





แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญของชาวจังหวัดลพบุรีและสระบุรีไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมและการประมง แต่ในเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม ของทุกปี จะเกิดน้ำท่วมในจังหวัดลพบุรีและรวมถึงจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับช่วงเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม ก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรมด้วยความห่วงใยในพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยให้ “ ความโหดร้าย ” ของแม่น้ำป่าสักกลับกลายเป็นความสงบเสงี่ยมที่น่านิยม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแห่งแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในเขตกลุ่มน้ำป่าสัก






พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาด้านน้ำท่วมนี้ โดยวิธีการที่ตรัสว่า “ แก้มลิง ” ซึ่งได้พระราชทานอรรถาธิบายว่า
“ ...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง... ” ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองเพื่อนำน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ ก็เปรียบเหมือนแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง
ลักษณะของงานเป็นการระบายน้ำออกจากพี้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็นำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้
หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) และสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำในคลองพักมีระดับต่ำที่สุดซึ่งจะทำให้น้ำจากคลองตอนบนไหลลงสู่คลองพักน้ำได้ตลอดเวลา แต่เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองก็จะปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ศึกษา “ หญ้าแฝก ” และนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 30 หน่วยงาน ร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝก
จากการศึกษาวิจัยหญ้าแฝกมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนาหญ้าแฝกระดับนานาชาติ (International Conference on Vetiver) เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อให้นักวิชาการมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ต่อมาอีก 4 ปี ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนา
นานาชาติ ในหัวข้อ “ หญ้าแฝกกับสิ่งแวดล้อม ” (Vetiver and The Environment) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา สำหรับการประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นที่เมืองกวางเจา มลรัฐกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม พ.ศ. 2547





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสีย

อุปกรณ์ในเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา
     •  โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
     •  ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง ที่ซองมีรูพรุนให้น้ำกระจายเป็นฝอยได้
้เริ่มต้นด้วยซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ทำให้ซองน้ำวิดตักน้ำ ด้วยความเร็วสามารถยกน้ำสาดขึ้นไปกระจ่ายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดการอัด
อากาศภายในซองน้ำใต้ผิวน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดีมากขึ้น






















อ้างอิงโดย:http://www.finansalife.com/king80/project.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น